รีวิวหนัง เกมเมอร์เกมแม่
รีวิวหนัง เกมเมอร์เกมแม่
มา ดูหนังออนไลน์ กันที่หนังจากผลงานการนั่งกำกับของ เสือ ยรรยง หนังไทยที่จะพูดถึงวงการอีสปอร์ต เมื่อแม่ตั้งทีมเกมแข่งกับลูกชาย ในยุคที่การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นกีฬา พวกเขาสามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกมได้เป็นกอบเป็นกำ
จนผู้ใหญ่จะหาว่าพวกเขาเสียเวลาไปกับการเล่นเกมก็อาจจะยากแล้ว กีฬาชนิดใหม่ที่ถูกบรรจุในรายการแข่งขันกีฬาทั้งระดับเล็กใหญ่ในชื่อ ‘อีสปอร์ต’ ทำให้คนต้องหันมามองใหม่ และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดหนังไทยที่เล่าเรื่องเด็กเล่นเกมที่ชื่อ ‘เกมเมอร์ เกมแม่’ หรือ ‘Mother Gamer’ นั่นเอง
เป็หนังที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่อวราวชีวิตจริง ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของแม่ที่ฝึกหัดและตั้งทีมมาแข่งกับลูก ด้วยลีลาของผู้กำกับที่เคยฝากฝืมือไว้กับ ‘App War แอปชนแอป’ และ ‘2538 อัลเทอร์มาจีบ’ เขาคือ เสือ ยรรยง ได้เวลา มานั่งชมภาพยนตร์เกี่ยวกับอีสปอร์ตเรื่องแรกของไทยกันละ
เรื่องของเรื่องมันเริ่มขึ้นมาจากสองแม่ลูกคู่หนึ่งที่ไม่เข้าใจกันด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง เบญจมาศ เธอเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวและเป็นคุณครูสอนเลขในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เธอเจ้าระเบียบไปเสียทุกอย่าง จนวันหนึ่งเธอก็จับได้ว่า โอม ลูกชายของเธอแอบเล่นเกมแถมยังเป็นโปรเพลเยอร์ที่แสนเก่งกาจ แม้เขาจะเป็นเด็กที่เรียนดีและสร้างความภาคภูมิใจมาให้ผู้เป็นแม่โดยตลอดก็ตาม และเป้าหมายของโอมก็กลับเป็นเป้าหมายในวันที่ทับซ้อนของครูเบญ
รีวิวหนัง เกมเมอร์เกมแม่ หนังไทย
วันที่เขาต้องสอบชิงทุนเพื่ออนาคตทางการศึกษาที่ผู้เป็นวางและวาดฝันเอาไว้ มันดันเป็นวันชิงชนะเลิศการแข่งขันเพื่อไปสู่การแข่งระดับโลกที่เกาหลี ด้วยเหตุนั้น แม่จึงรวบรวมทีมอีสปอร์ตเพื่อขัดขวางเส้นทางฝันของลูก และไม่เคยบอกลูกเรื่องการตั้งทีมนี้มาก่อน
ในส่วนของทีมอีสปอร์ตทางฝั่งคุณแม่คือทีม Ohmgaga นำโดย กอบศักดิ์ (เติร์ด ลภัส งามเชวง สมาชิกวง Trinity) เด็กที่เกรียนสุดๆ ผู้ที่ทำผิดได้อีกเพียงครั้งเดียว แต่เขาคืออดีตโปรเพลเยอร์ที่เคยร่วมทีม Higher กับโอม มี มะปราง (วีรยา จาง หรือ วี BNK48 จากซีรีส์ ‘365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ’) แล้วก็ยังมี ไกด์, แบงค์ และแม็ก และแน่นอน แม่เบญผู้ไม่เคยเล่นเกมเลยย่อมต้องเป็นตัวที่อ่อนสุดในทีม จากนี้ การแข่งขันระหว่างทีมจะกลายเป็นสงครามที่วัดใจแม่ลูกในสมรภูมิแห่งเกม ROV
ดูหนังฟรี จากภาพยนตร์เรื่อง ‘2538 อัลเทอร์มาจีบ’ ต่อกับ ‘App War แอปชนแอป’ ผู้กำกับคนนี้ เสือ ยรรยง เลือกจะมุ่งมั่นทำหนังที่มีเนื้อหาแตกต่างออกไป หลังเล่าเรื่องความหลังเรื่องเพลงในวัยวาน หันมาเล่าเรื่องของสตาร์ทอัปที่แข่งทำแอป คราวนี้เขาหันมาทำหนังที่เล่าเรื่องเกมและอีสปอร์ต
เมื่อมันเป็นความขัดแย้งของแม่ และลูก หนัง เกมเมอร์เกมแม่ ที่บอกเรื่องราวครอบครัวและเกม เริ่มต้นมันเป็นหนังของแม่กับลูกจริงๆ นะ เมื่อแม่เป็นแม่ที่ออกจะหัวโบราณ เจ้าระเบียบ และเคร่งครัดไปเสียทุกอย่าง ขนาดจัดตั้งโครงการเก็บมือถือของนักเรียนระหว่างอยู่ในโรงเรียน ลูกชายสอบได้อันดับหนึ่ง
เธอดูไม่ค่อยจะใส่ใจแต่กลับจริงจังมากเมื่อรู้ว่าลูกชายเล่นเกมและไม่สนใจจะสอบชิงทุน การตัดสินใจตั้งทีมเพื่อไปชนกับลูก เป็นวิธีการขวางความฝันความสำเร็จของลูกอย่างหนึ่ง ซึ่งระหว่างดูก็ไม่รู้สึกเห็นด้วยสักเท่าไหร่
รีวิวหนัง เกมเมอร์เกมแม่ หนังดี
แต่เมื่อนั่งดู รีวิวหนังไทย ไป มันเริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องที่ชวนหวือหวาแม้มันจะแค่ปูๆ เรื่อง เขาพยายามสรรหาความแปลกใหม่ในเทคนิคการเล่าที่พอให้การเดินของเรื่องดูมีอะไรมากขึ้น ถัดจากนั้น เรื่องราว
ระหว่างทางมันเดินไปด้วยสูตรที่คุ้นชิน เสริมเติมแต่งด้วยภาพหวานของคู่จิ้น สลับด้วยภาพความขัดแย้งระหว่างแม่กับลูก ก่อนจะเข้าสู่เวลาของการแข่งขันที่มาพร้อมกับอุปสรรคต่างๆ นานา
ความพยายามของคนไม่เล่นเกมแต่จะทำหนังเกม ด้วยความที่หนังมีแกนกลางเป็นเรื่องครอบครัวที่น่าจะเกาะกุมกลุ่มเป้าหมายวงกว้างได้ แต่เรื่องราวมันเกาะเกี่ยวด้วยเรื่องราวของเกมที่ลูกชายสมัครเข้าแข่งขันเกมแทนที่จะสนใจสอบชิงทุนอย่างใจแม่หวัง
จนในที่สุดแม่ทนไม่ไหวจึงสร้างทีมเพื่อมาเจอกับลูก หนังที่ใช้เกม ROV เป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนเรื่อง ตรงนี้อาจเป็นกำแพงที่ใหญ่พอดูสำหรับผู้ชม เพราะกลุ่มคนที่เล่นเกมก็มีมากมายอยู่แต่คนกลุ่มใหญ่เช่นกันที่ไม่ได้เล่นเกม
ผู้กำกับ เกมเมอร์เกมแม่ HD ผู้ไม่เล่นเกมก็คงเข้าใจในข้อนี้ เลยคิดว่าจะทำยังไงให้กลุ่มคนที่ไม่เล่นเกมทำความเข้าใจและเข้าถึงไปกับเรื่องราวได้ หนังจึงออกมาในทางที่ทำตัวละครให้ออกท่าออกทางสู้กัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องพึ่งและใช้ CG เพื่อให้ได้ภาพที่ดูเข้ากับความเป็นเกม
ส่วนหนึ่งมันทำให้ผู้ชมเข้าใจเกมมากขึ้น แต่พอภาพบนจอมันเป็นเกมจริงๆ คนที่ไม่ได้เล่นเกมอย่างผมก็ยังจะมีปัญหาในการมองว่าตัวไหนเป็นตัวไหนและกำลังเล่นด้วยกลยุทธ์ไหนอยู่อยู่ดี เพราะภาพตรงนั้นมันไวและถ้าไม่ใช่คนที่เล่นเกมมาก่อน ก็ยากที่จะมองปราดเดียวแล้วเข้าใจ
เมื่อคุณแม่ตั้งทีมเพื่อมาแข่งเกมกับลูก
อีกจุดหนึ่งที่ รีวิวหนังไทยน่าดู รู้สึกก็คือ นี่มันเป็นสไตล์หนังกีฬา มีการแข่งเป็นสายๆ ชนะแล้วเข้ารอบไปพบกัน เหลือสองทีมที่คู่คี่สูสีเดาไม่ออกว่าใครจะชนะใคร ซึ่งการเล่าเรื่องแบบนี้มันดูเป็นสิ่งธรรมดาที่คาดเดาได้ และมันก็เป็นสิ่งธรรมดาที่ชักชวนให้คนร่วมลุ้มไปกับมันเช่นกัน
จุดที่ต้องชื่นชมก็คือตัวนักแสดงที่ไม่ว่าจะมือเก่ามือใหม่ก็ถือว่าทำโจทย์ออกมาได้ดีตามคาแรกเตอร์ของตน โดยเฉพาะคนนี้ อ้อม พิยดา มือเก๋าที่สุด เธอมารับบทแม่ที่ทั้งเจ้าระเบียบ เคร่งทั้งในโรงเรียนทั้งในบ้าน ผู้ไม่เคยเข้าใจในการชื่นชอบในการเล่นเกมของลูก น่าเสียดายที่ช็อตดราม่ายังทำไม่ถึงขั้นอิน
ถัดมาก็เป็นคู่จิ้นคู่ใหม่ เติร์ด-วี ที่ต้องบอกว่าเคมีดูเข้ากันดีและเป็นบทพิสูจน์ว่า วีรยา จาง บนจอยักษ์ก็ขึ้นมากไม่แพ้ในจอทีวี ฉากที่วีแต่งหน้าบนจอยักษ์นั้นเรียกว่าคิวต์มาก ส่วนคิวต์พ่อง! นี่น่าจะล้อเล่นหนังเรื่องก่อน กริ๊วพ่อง! นั่นแหละ แม้บทของเธอจะยังไม่เปิดให้เล่นอะไรที่ทำให้เห็นความสามารถมากนัก แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ส่วนเติร์ดและตน ต่างก็มีเวลาที่ได้โชว์ของของตนคนละนิดคนละหน่อย ส่วนคนที่มาเสริมโดยไม่รู้ตัวมาก่อนอย่าง เกลือ กิตติ เชี่ยววงศ์กุล นับว่าสร้างสีสันให้กับเรื่องพอสมควร ทั้งเป็นการตอกย้ำ
ให้รู้สึกว่าโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่เข้าใจเด็กน้อยทั้งๆ ที่ควรจะเป็นพื้นที่ที่เข้าใจเด็กมากที่สุดก็ตาม ถือว่าดี แต่ก็ยังไม่ได้ถูกใจไปซะทุกอย่าง
โดยรวมแล้ว เกมเมอร์เกมแม่ เรื่องย่อ ถือว่าหนังทำออกมาได้สนุกพอสมควร ชวนลุ้นชวนติดตามว่าสุดท้ายมันจะจบลงเช่นไร แต่ก็ดูเหมือนระหว่างจะมีอะไรที่ตะขิดตะขวงใจพอดู บางอย่างคงต้องให้คนที่เล่นเกม คอเกม หรือผ่านการเล่นเกมนี้มาบ้างได้ออกปากวิจารณ์ เพราะถ้าตามประสาคนที่ไม่เคยเล่นก็อาจจะมองไม่เห็น การที่ให้คนที่เล่นไม่เก่ง จู่ๆ มาเล่นตัวที่ไม่รู้จักไม่ถนัดจะสามารถควบคุมได้ดีนั้นอาจเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยาก
ไปติดตามความสนุกสนานของเรื่องนี้กัน
หนัง เกมเมอร์เกมแม่ Pantip มักจะเล่นในประเด็นที่แม่เป็นผู้ริเริ่มโครงการห้องเรียนปลอดมือถือและโครงการนี้ก็ยังคงอยู่จนจบเรื่อง แต่กลับไม่รู้สึกว่าประเด็นนี้จะเอาไปใช้เล่นอะไรต่อ นอกจากได้เห็นว่าสุดท้าย แม่ก็เล่นมือถือเสียเอง หรือบางจุดที่เป็นจุดเปลี่ยนของเรื่องราวอย่างการตัดสินใจของครูใหญ่ เราก็ยังไม่เห็นที่มาที่ไปของการตัดสินใจเช่นนั้น แรงจูงใจคืออะไรเรากลับไม่เห็น
ในเรื่องไดเรกชั่นอะไรเราไม่ได้สนใจมาก ลูกเล่นที่แต่งเติมเข้ามาเพื่อให้มันมีสีสันอันนั้นเราไม่ได้ติดใจ แต่สิ่งที่สะดุดก็จะเป็นช่วงที่ตัวละครจะมาฟาดฟันกันเองนั่น มาพร้อมกับ CG ที่จัดเต็มแต่ก็มักเล่นด้วยท่าสโลว์โมชันที่ชวนให้รู้สึกว่าหนังให้เวลากับมันนานไป แทนที่จะไปให้เวลาในการเชื่อมโยงเรื่องราวให้มันสมูธกว่านี้ อธิบายบางอย่างมากกว่านี้สักหน่อย อาจจะช่วยทำให้หลายๆ พาร์ตชวนอินมากขึ้น
สรุปว่าหนัง เกมเมอร์เกมแม่ สปอยล์ ชวนให้ติดตามไปได้จนจบ แต่ยังไม่กลมกล่อมพอนั่นเองครับ ทิ้งท้ายขอพูดถึงเหล่าบรรดานักแสดงวัยรุ่นกันบ้าง เติร์ด ลภัส งามเชวง มีเสน่ห์ในแบบแบดบอยมาก ๆ ในบทของกอบศักดิ์ดูแล้วเชื่อได้เลยว่าจะเป็นคนพาเบญจมาศสู่โลกของเกมเมอร์เหมือนมอร์เฟียสฉบับกวน ๆ ที่จะพานีโอตื่นจาก The Matrix ยังไงยังงั้น
ส่วน ต้นหน ตันติเวชกุล นี่เสียดายมากเพราะดรามjาช่วงท้ายของหนังเขาทำได้ดีมากแต่ด้วยช่วงเวลาที่หนังให้เขาถือว่าน้อยเกินไปจริง ๆ ส่วน วี วีรยา จาง ในบทมะปรางแม้จะให้ความสดใสกับหนังแต่บทของเธอแทบไม่มีผลอะไรกับเรื่องนอกจากเพิ่มซีนโรแมนติกให้กับกอบศักดิ์
สรุป รีวิวหนังไทยน่าสนใจ แบบรวมๆเลยนะ เกมเมอร์เกมแม่ ก็ยังไม่ถือว่าดีมากในเรื่องของบทภาพยนตร์ แต่งานดีไซน์แต่ละซีนของหนังน่าสนใจและน่าตื่นตาตื่นใจทีเดียวเพื่อให้คนไม่เล่น ROV อย่างผมเข้าใจในกติกาของตัวเกมและสนุกไปกับฉากแข่งขันในหนัง และยังมีการแสดงที่เชื่อมือได้ทั้งจาก อ้อม พิยดา อัครเศรณี กับ เติร์ด ลภัส งามเชวง
เกมเมอร์เกมแม่ รีวิว ทำให้หนังดูสนุกและน่าประทับใจจนอยากให้มีโอกาสที่ครอบครัวที่มีลูกเล่นเกมได้มาดูด้วยกันเพราะหนังนำเสนอวงการอีสปอร์ตได้เข้าใจง่ายและไม่มองผู้ใหญ่ในแง่ร้ายเกินไปเป็นการนำเสนอที่น่าจะกระชับพื้นที่ “ช่องว่างระหว่างใจ” ของผู้ปกครองและลูก ๆ เหล่าเกมเมอร์ได้ดีทีเดียว
ภาพยนตร์เรื่อง: Mother Gamer / เกมเมอร์เกมแม่
ผู้กำกับภาพยนตร์: ยรรยง คุรุอังกูร
ผู้เขียนบท:
นักแสดงนำ: อ้อม – พิยดา อัครเศรณี,เติร์ด – ลภัส งามเชวง, ตน – ต้นหน ตันติเวชกุล, วีรยา จาง (วี BNK48), ธนบัตร งามกมลชัย
ดนตรีประกอบ:
ความยาว: 118 นาที
ปี: 2020
แนว/ประเภท: Action
อัตราส่วนภาพ:
ประเทศ: ไทย
เรท: ไทย/น15+, MPAA/-
วันที่เข้าฉายในประเทศไทย: 10 กันยายน 2020
สตูดิโอ/ผู้สร้าง/ผู้จัดจำหน่าย: Get More Film, Hidden Agenda, สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
Mother Gamer